การดูแลรักษาเทอร์โบชาร์จเจอร์

การดูแลรักษาเทอร์โบ
                ถ้าหากว่าเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเทอร์โบเสียหายหรือระบบน้ำมันเชื้อเพลิงบกพร่อง เราก็สามารถตรวจเช็คด้วยการถอดท่อดูดเข้าเทอร์โบออกแล้วลองหมุนและยกเพลาเทอร์โบจากหัวน๊อตล็อกใบพัดไอดีรวมถึง ตรวจดูว่าใบพัดไอดียังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากเทอร์โบหมุนไม่สะดวก แสดงว่าเทอร์โบเสียหายต้อถอดมาตรวจซ่อม ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีค่ากำหนดเอาไว้ว่าหากเทอร์โบยังอยู่ในสภาพปกติสามารถโยกแกนขึ้น-ลงได้อยู่ในช่วง 0.003 – 0.006 นิ้ว  และสามารถโยกเลื่อนไปมาหน้า-หลังได้อยู่ในช่วง 0.001 – 0.003 นิ้ว ถ้าหากลองโยกแกนเทอร์โบดูแล้วมีค่าเกินมากกว่านี้ เราก็ควรจะต้องส่งซ่อมเพราะหากปล่อยไว้อาจจะเสียหายมากขึ้น ทำให้ต้องซ่อมหนักมากกว่าเดิม แต่ถ้าแกนเทอร์โบยังอยู่ในอาการดี ก็ต้องลองไปตรวจสอบว่าท่อดูดหรือท่ออัดเข้าและออกจากเทอร์โบรั่วหรือคลายหรือไม่ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้แรงบูสท์หดหายไป แต่ถ้าสังเกตเห็นว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกจากเทอร์โบ ก็ควรตรวจเช็คท่อน้ำมันไหลกลับว่ามีการอุดตันทำให้น้ำมันไหลกลับไม่สะดวก และตรวจเช็คกรองอากาศกันด้วยว่าอุดตันหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูระดับน้ำมันในอ่างน้ำเครื่องไม่ให้สูงเกินไป ส่วนมากแล้วถ้าหากเกิดมีน้ำมันรั่วเกิดขึ้นที่ตัวเทอร์โบกันแล้ว ก็มักจะเกิดอาการควันใหลตามมาด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งเราก็พอจะสังเกตกันได้ง่ายๆ ว่าถ้าเป็นควันขาวก็น่าจะมีสาเหตุมาจากเครื่องยนต์ หากเกิดควันดำและเครื่องยนต์ไม่มีกำลังก็น่าจะเกิดมาจากเทอร์โบเสียหายหรือระบบเชื้อเพลิง หากตรวจเช็คเทอร์โบและเครื่องยนต์กันแล้วเป็นปกติ ก็แสดงว่าปัญหาเกิดจากระบบเชื้อเพลิงอย่างแน่นอน
                ส่วนในกรณีของการเกิดเสียงดังผิดปกติจากเทอร์โบ ถ้าหากเราได้ตรวจเช็คตัวเทอร์โบกันแล้วว่าไม่มีปัญหายังเป็นปกติดีอยู่ เจ้าเสียงดังที่เกิดขึ้นก็น่าจะมีสาเหตุจากในส่วนของท่อดูดอากาศนั้นเกิดการอุดตัน หรือเกิดอาการรั่วได้เนื่องจากเข็มขัดรัดท่อยางคลายตัว หรือไม่ก็ในส่วนของท่อไอเสียที่หน้าแปลนโข่งไอเสียเทอร์โบอาจจะรั่วหรือน๊อตคลายตัวได้ โดยปกติแล้วถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นก็มักจะเกิดปัญหาเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง และควันดำติดตามมาด้วยอย่างแน่นอน  หลังจากที่เราพอจะวิเคราะห์อาการผิดปกติของเทอร์โบกันได้บ้างแล้ว คราวนี้เราลองมาดูสาเหตุที่บางครั้งเราอาจจะมองข้ามกันไปบ้าง ว่าเจ้าสิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวการที่ทำให้เทอร์โบมีอายุการใช้งานที่สั้นลงไปได้อีกด้วย
              
                กรองอากาศ
                
ที่มา http://s1.boxzaracing.com/news/07/ak/1446622255.jpg

               เราจะต้องตรวจเช็คอย่างละเอียดว่ากรองอากาศในรถเรานั้นยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เนื่องจากกรองอากาศเป็นตัวที่กรองสิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับอากาศออก เพื่อไม่ให้เข้าไปในเครื่องยนต์ ซึ่งถ้าหากมีการชำรุดไม่สามารถกรองสิ่งแปลกปลอมออกได้อาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับเทอร์โบของเราได้
              
                ท่อไอดี
                สำหรับท่อทางเดินไอดีก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรตรวจสอบกันให้ดีว่าจะไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ในท่อไอดี เพราะถ้ามีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่รับรองได้ว่ายอมทำให้เกิดความเสียหายกับใบเทอร์โบได้
               
                ท่อไอเสีย
                ในส่วนของชุดท่อไอเสียก็เช่นกันเป็นสาเหตุหลักอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ใบพัดไอดีหรือใบพัดไอเสียบิดงอ เนื่องจากแกนเพลาของใบพัดทั้ง 2 นั้นเป็นอันเดียวกัน สาเหตุที่เกิดขึ้นในจุดนี้อาจเกิดมาจากการที่ในส่วนของชุดกรองไอเสียที่เราเรียกเจ้าตัว Catalatic  เกิดมีอาการอุดตันกันขึ้นมาเนื่องจากว่ามีการใช้งานมายาวนาน เมื่อมีการอุดตันเกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดอาการ Back Pressure ขึ้น ทำให้มีแรงดันของไอเสียที่ระบายออกมาย้อนกลับเข้าไปต้านกับใบพัดไอเสียนั่นเอง ทำให้การหมุนของใบพัดไม่สะดวก ส่งผลให้แกนเกิดการหมุนที่ไม่สมดุลและเสียหายขึ้นมา

             ตัวควบคุมแรงดันไอเสีย (WASTEGATE)
                
ที่มา https://cdn3.volusion.com/rpeq3.x6bgd/v/vspfiles/photos/TIAL-MVR-2.jpg?1484441372

ถ้าหากมีการแก้ไขดัดแปลงกระปุกและก้านเปิดประตูไอเสียโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ประตูไอเสียไม่เปิดเนื่องจากแผ่นไดอะเฟรมหรือสปริงชำรุด หรือจากการการดัดหรือเชื่อมก้านควบคุมแรงดันไอเสีย (Actuator Rod) เพื่อจะติดตั้งทำการติดตั้งหรือดัดแปลงเพิ่มพลังบูสท์จากการดัดหรือเชื่อมก้าน อาจทำให้เกิดการขัดตัวของก้านทำให้เทอร์โบหมุนรอบสูงเกินปกติจนเทอร์โบเสียหายหรือเครื่องยนต์ร้อนและเสียหาย
               ในส่วนของตัวควบคุมปริมาณแรงดันไอเสียแบบแยกจากตัวเทอร์โบ (External Wastegate) ถ้าหากได้นำมาใช้กันนั้น ก็ควรจะเลือกมาให้เหมาะสมตั้งแต่ขนาดของใบพัดไอดี ใบพัดไอเสีย ขนาดโข่ง เพื่อคำนวณปริมาณลมและแรงดันที่เหมาะกับเครื่องยนต์ ควบคุมแรงดันไอเสียให้ระบายไอเสียตามแรงดันที่ตั้งไว้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ให้มีแรงบูสท์จากเทอร์โบสูงมากเกินไปชึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้เช่นกัน
                
             วาล์วระบายไอดีส่วนเกิน (BLOW OFF VALVE)
                
ที่มา https://cdn.shopify.com/s/files/1/0890/6136/products/image_6dcd92d8-1552-42a2-8d96-9a104d7d3c12_large.jpeg

                ถ้าหากเราเลือกใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสมมีวาล์วระบายที่เล็กเกินไปก็จะทำให้ไอดีส่วนเกินระบายได้ไม่หมดและใหลย้อนกลับไปต้านการหมุนของใบเทอร์โบในด้านตรงกันข้ามได้ ซึ่งอาจทำให้แกนเทอร์โบคลอนได้ ส่งผลให้ใบพัดเกิดการเคลื่อนตัวออกมาเสียดสีกับโข่งไอดีจนเกิดความเสียหายและลามไปเสียหายในจุดอื่นๆ ของตัวเทอร์โบได้ในที่สุดนั่นเอง
                

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการทำงานทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์( Turbocharger )

อาการ “รอรอบ” คืออะไร?

VN TURBO