อาการ “รอรอบ” คืออะไร?

 เชื่อเหลือเกินว่า...ยังมีท่านผู้อ่านหลายท่านที่เข้าใจผิดกับคำว่า “ รอรอบ ” อยู่นะ  บ่อยครั้งที่ได้ยินหลายๆคนบ่นว่า รถของพวกเขาออกตัวได้ช้ามาก...ต้อง “ รอรอบ ” สักพักหนึ่งก่อน...ความตลกมันอยู่ที่ว่า รถของเขาคือฮอนด้าบริโอ้ เครื่องเดิม ซึ่งไม่มี “ เทอร์โบ ” สิ่งที่อยากจะบอกก็คือว่า “ อาการรอรอบ ” เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์เทอร์โบเท่านั้น
โดยปกติแล้ว เครื่องยนต์เทอร์โบจะสามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้ก็ต่อเมื่อมี “ บูสต์ ” (Boost) มาประทาน  ถ้าบูสต์ไม่มา...ก็เท่ากับเสือที่ไม่มีเขี้ยวเล็บ ซึ่งอาจจะโดนหมาป่าเครื่อง 1500 NA สวนเอา!! จนกลายเป็นเสือร้องไห้ก็เป็นไปได้   เพราะฉะนั้น เครื่องเทอร์โบจะต้องมั่นใจว่าเทอร์โบของเราสามารถสร้างบูสต์ได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ...และนี่ก็คือ “ ปัญหา ” ที่ต้องแก้
เอาล่ะ...ลองจินตนาการตามดูนะ สมมติว่าคุณกำลังขับรถแข่งเครื่องเทอร์โบคันหนึ่งอยู่ในสนามพีระ  ซัดทางตรงช่วงลงเขามายาวๆเลย และโค้งหน้าคือโค้งซ้ายขึ้นเขา แน่นอนว่าก่อนเข้าโค้งก็ต้องเบรก จากนั้นก็ลดเกียร์ลงจาก มา มา 2 แล้วก็เร่งเครื่องออกจากโค้ง ในจังหวะเติมคันเร่งนั้นเอง ปรากฏว่าบูสต์มาช้ากว่าปกติ ทำให้กำลังของเครื่องยนต์ลดลง และนี่ก็คืออาการที่เรียกว่า “ รอรอบ ” นั่นเอง   
ที่มาภาพ http://johsautolife.com/index.php/2015-12-30-03-42-00/2015-12-30-03-43-37/29-war-of-boost

ดูจากกราฟข้างบนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หลังจากที่เปลี่ยนเกียร์แล้ว เราเหยียบคันเร่งไปแบบสุดๆ แต่ทว่าบูสต์กลับไหลขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึงค่าสูงสุด เราเรียกช่วงเวลาที่บูสต์ไหลขึ้นนี้ว่า “ อาการรอรอบ ” หรือ “ เทอร์โบ-แล็ก ” นั่นเอง
สรุปสั้นๆได้ว่า...อาการรอรอบก็คือ การที่เทอร์โบไม่สามารถสร้างบูสต์ให้กับเครื่องยนต์ได้ทันที หรือพูดง่ายๆก็คือ เทอร์โบมันมีดีเลย์นั่นแหละ
ส่วนวิธีที่จะลดช่วงเวลาเทอร์โบ-แล็กนั้น มีหลายวิธีด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เปลี่ยนไปใช้เทอร์โบลูกเล็ก เพราะว่าเทอร์โบลูกเล็กจะมีใบพัดที่เบากว่า ทำให้มันปั่นได้เร็วกว่าเทอร์โบลูกใหญ่ หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้ระบบเทอร์โบคู่ หรือทวินเทอร์โบ ระบบนี้จะใช้เทอร์โบ ลูกที่มีขนาดต่างกัน โดยจะสลับกันทำงานเพื่อลดเทอร์โบ-แล็กนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีอีกระบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ แอนติ-แล็ก ซิสเต็ม ” เรียกย่อๆว่าระบบ “ ALS ” (Anti-lag system) ซึ่งเป็นระบบคอนโทรลคู่บารมีของเครื่องยนต์เทอร์โบมาหลายทศวรรษ                                                                       
แอนติ-แล็ก ซิสเต็ม คือะไร?  
          แอนติ-แล็กเป็นระบบควบคุมองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์เทอร์โบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดเทอร์โบ-แล็ก  ซึ่งโดยปกติแล้ว แอนติ-แล็ก จะทำงานในช่วงที่นักแข่งยกคันเร่งลองฟังเสียงจากวิดีโอจากลิ้งค์ข้างล่างนี่ดูนะ สังเกตดูตอนที่นักแข่งยกคันเร่งก่อนจะเข้าโค้ง จะมีเสียงท่อดังปุงปังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นก็คือการทำงานของระบบ แอนติ-แล็กนั่นเอง

(*หมายเหตุ แอนติ-แล็ก ซิสเต็ม ยังถูกนำมาใช้กับระบบออกตัว หรือ “ ล็อนช์ คอนโทรล ” (Launch Control) ซึ่งเป็นการสร้างบูสต์ขณะรถแข่งอยู่กับที่ก่อนที่จะทำการออกตัว ซึ่งในระบบนี้ แอนติ-แล็ก จะทำงานร่วมกับระบบจำกัดรอบเครื่องยนต์ หรือที่เรียกว่า “ เรฟ ลิมิตเตอร์ ” (Engine rev-limiter) )
หลักการทำงานของระบบแอนติ-แล็กนั้น ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย เป็นเพียงการเลื่อนองศาจุดระเบิดให้  “ รีทาร์ด ” (Retard) แบบสุดๆ หรือที่เรียกว่า “ ไฟอ่อน ”เมื่อใดก็ตามที่มีการยกคันเร่ง ระบบควบคุม (ECU) จะสั่งให้เพิ่มองศาการจุดระเบิด (สั่งเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันด้วย) หรือเพิ่มไฟให้อ่อนกว่าปกติอีกประมาณ 35-45 องศา การทำเช่นนี้จะทำให้การสันดาปเกิดช้าลง ถึงแม้วาล์วไอเสียจะเปิดแล้วแต่การสันดาปก็ยังไม่เสร็จสิ้น นั่นทำให้เปลวไฟจากห้องเผาไหม้ลุกลามมายังท่อร่วมไอเสียหรือที่เรียกว่า “ เฮดเดอร์ ” ซึ่งก๊าซร้อนเหล่านี้จะไปปั่นใบเทอร์ไบน์อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นถึงแม้จะยกคันเร่ง แต่บูสต์ยังไม่หายไปไหน  และการเผาไหม้นอกกระบอกสูบนี่เองที่ทำให้เกิดเสียงแบ็คไฟร์ดังสนั่นลั่นทุ่งราวกับเสียงปืนกล



ที่มา http://www.johsautolife.com/images/knowledge/antilag/combustion.jpg

โดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบแอนติ-แล็กจะถูกนำมาใช้กับรถแข่งประเภทแรลลี่เป็นหลัก เนื่องจากว่าการแข่งขันประเภทนี้มี “ โค้ง ” ตลอดทั้งเส้นทาง เพราะฉะนั้น ระบบแอนติ-แล็กจึงถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้เสียบูสต์ในจังหวะยกคันเร่งก่อนเข้าโค้ง
ถึงแม้จะช่วยบรรเทาอาการ “ รอรอบ ” ให้น้อยลงได้  ....แต่ “ แอนติ-แล็ก ซิสเต็ม ” ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียนะ อย่างแรกที่ต้องทำใจเลยก็คือเรื่องอุณหภูมิ แน่นอนว่าการจุดระเบิดนอกห้องเผาไหม้แบบนั้น ถึงแม้จะได้ไอเสียไปช่วยปั่นเทอร์โบ แต่ทว่า...ทั้งเฮดเดอร์และตัวเทอร์โบนั้นจะร้อนขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลงอย่างช่วยไม่ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการทำงานทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์( Turbocharger )

VN TURBO