ข้อมูลอื่นๆของเทอร์โบชาร์จเจอร์
กำลังที่สร้างได้
เนื่องจากความเร็วรอบของแกนเทอร์โบจะขึ้นกับปริมาณของไอเสีย
ยิ่งมีไอเสียมาก ก็จะยิ่งหมุนเร็ว บางครั้งอาจหมุนเร็วถึง 150,000 รอบต่อนาที
บูสต์ที่สร้างได้นั้นจะมีตั้งแต่ 10 PSI ไปจนถึง 40 PSI แล้วแต่ขนาดของเทอร์โบ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทอร์โบจะสามารถสร้างแรงม้าได้มากกว่า
แต่มันก็มี “ จุดอ่อน ” ที่ยังไม่มีใครแก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ นั่นก็คือ “
อาการรอรอบ ” หรือที่เรียกว่า “ เทอร์โบ-แล็ก ” (Turbo-lag) นั่นเอง “ เทอร์โบ-แล็ก ” กลายเป็น “ คำสาป ” ที่มีอยู่ในเทอร์โบทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โบคู่หรือว่าเทอร์โบเดี่ยว
ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โบเล็กหรือเทอร์โบใหญ่ ...แต่ถ้าหากว่าเรายอมรับคำสาปข้อนี้ได้
แน่นอนว่า...เราก็จะได้ฝูงม้าจำนวนมหาศาลเป็นรางวัลตอบแทนเลยทีเดียว
ความยาก-ง่ายในการติดตั้ง
สำหรับเทอร์โบแล้ว เนื่องจากว่าเราต้องเปลี่ยนเฮดเดอร์ใหม่
เพราะฉะนั้นจะมีความยุ่งยากในการติดตั้งเฮดเดอร์และเดินท่อไอเสีย
ถ้าจะให้เซฟตี้หน่อยก็ต้องเดินหลบท่อน้ำมัน
อีกทั้งยังต้องติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์และเดินท่อไอดีอีกต่างหาก
เผลอๆอาจจะต้องแปลงกันชนหน้าเพื่อให้ลมเข้าอินเตอร์ได้สะดวกๆ
นี่ยังไม่รวมการติดตั้งพวกอุปกรณ์จิปาถะอย่างเวสต์เกทและโบ-ออฟวาล์วเลย
ด้วยความยุ่งยากในการติดตั้งพอสมควร
เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการซื้อ “ ชุดคิท ” สำเร็จรูปมาติดตั้ง
ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้จะเป็นของตรงรุ่น ไม่ต้องดัดไม่ต้องแปลงให้ยุ่งยาก อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในาการติดตั้งได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่มา http://www.johsautolife.com/images/knowledge/turbosuper/kit-turbo.jpg
ในแง่ของประสิทธิภาพ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า “ ประสิทธิภาพ ” กันก่อนดีกว่า...ในเชิงวิศวกรรมแล้ว
“ อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ” ก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานน้อย
แต่สร้างพลังงานได้มาก
ที่มา http://image.superstreetonline.com/f/31977856+w+h+q80+re0+cr1/impp_1104_08_o%2B1989_toyota_supra%2Bgarrett_turbo.jpg
สำหรับเทอร์โบแล้ว มันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไอเสียเป็นแหล่งพลังงาน
นั่นเท่ากับว่าเราไม่ต้องใส่พลังงานใดๆให้มันเลย
แต่มันกลับสร้างบูสต์ได้อย่างมหาศาล
การจูนนิ่ง
เนื่องจากความเร็วรอบการหมุนของแกนเทอร์โบจะขึ้นอยู่กับปริมาณไอเสีย
ไอเสียมาก...ก็หมุนเร็ว ไอเสียน้อย...ก็หมุนช้า ทำให้ปริมาณอากาศที่เข้าเครื่องยนต์ไม่ได้แปรผันตามรอบเครื่องเหมือนกับซุปเปอร์ชาร์จ
เพราะฉะนั้น
มันจึงเป็นเรื่องยากมากที่เราจะจูนเครื่องเทอร์โบให้เผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนใหญ่แล้ว จูนเนอร์ที่จูนรถเทอร์โบ เค้าจะจูนหนาๆ
กันเอาไว้เวลาที่บูสต์มันตีขึ้นมานั่นเอง
ตำแหน่งการติดตั้ง
ตำแหน่งการติดตั้งจะมีผลโดยตรงกับ “ ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วง
” (Center
of Gravity) หรือที่เรียกย่อๆว่า “ ซีจี ” (CG) นั่นเอง ปกติแล้วสำหรับรถสมรรถนะสูง โดยเฉพาะรถแข่งประเภทเซอร์กิต
ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ เบาะคนขับ ถังน้ำมัน
และอุปกรณ์อื่นๆ จะถูกเซ็ทให้อยู่ตำแหน่งที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เพื่อให้จุด CG อยู่ต่ำที่สุด
สำหรับเทอร์โบแล้ว ตำแหน่งติดตั้งจะอยู่ที่เฮดเดอร์ซึ่งต่ำกว่าตำแหน่งของซุปเปอร์ชาร์จ
ที่มา https://i.ytimg.com/vi/oWzv0GVtwuo/hqdefault.jpg
ที่มา http://www.johsautolife.com/images/knowledge/turbosuper/cg-turbo-supercharge.jpg
diarucreaba Amber Brown https://wakelet.com/wake/2PjdLL8mWgW3cHFNyFs6B
ตอบลบmyoficorlent