ความเป็นมาของเทอร์โบชาร์จเจอร์( Turbocharger )

ความเป็นมาของเทอร์โบชาร์จเจอร์( Turbocharger ) หลังจากที่ได้มีการประประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาปภายในขึ้นมา เป็นช่วงต้นปี 1885 และปี 1896 เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) และ รูดอล์ฟดีเซล (Rudolf Diesel) ได้หาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์และประหยัดการใช้น้ำมันลงด้วย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ Alfred JBuechi ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการทดลองและ จดสิทธิบัตรนวัตกรรมระบบอัดอากาศในเครื่องยนต์ลูกสูบ สำหรับเทอร์โบที่ Alfred JBüchi ชาวสวิสได้ทำการคิดค้นขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นเทอร์โบอัดอากาศของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดยักษ์ โดยมีการติดตั้งให้กับหัวจักรรถไฟในเครื่องยนต์ดีเซลที่เป็นต้นกำลังให้กับหัวรถจักรเมื่อปี ค.ศ.1927 และได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการให้กำลังของเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ขับหัวรถจักร สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลติดตั้งเทอร์โบอัดอากาศเพื่อเสริมประสิทธิภาพนั้น เริ่มต้นใช้งานในรถบรรทุกเมื่อปี 1938 จนกระทั่งเวลาเดินทางมาถึงปี ค.ศ. 1952 ระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จเจอร์จึงถูกนำไปใช้งานในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากในยุคนั้นพลังงานในรูปของเชื้อเพลิงยังคงมีราคาถูก ความนิยมในระบบอัดอากาศแบบนี้จึงยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร มีเพียงวงการรถแข่งที่นิยมนำไปเสริมกำลังให้กับเครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้กว่า 40 % และนี่เป็นการเริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างการแข่ง Formula 1                       
 https://thaioverdrive.blogspot.com/2016/11/turbocharger.html http://new-sittichai.blogspot.com/
Alfred JBüchi
ที่มาภาพ http://www.thairath.co.th/content/343305

เราได้รู้จักเรื่องราวของ Turbo กันไปคร่าวๆแล้ว คราวนี้เรามาลงรายละเอียดถึงหน้าที่ และหลักการทำงานกัน เมื่อเราพูดถึงรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถที่มีแรงม้ามากๆแล้ว คำว่า “Turbo” มักจะเข้ามาวนเวียนเกี่ยวข้องอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล เจ้า “Turbo” มันก็ไม่ได้คิดเกี่ยงเลือกข้างแต่อย่างใด สำหรับขาซิ่งที่ต้องการจะเพิ่มแรงม้าให้กับเครื่องยนต์ เจ้า “Turbo” ก็มักจะเข้ามาเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆอยู่เป็นบ่อยครั้ง                 
“แรงม้า”
แรกเริ่มเดิมทีนั้นถ้าหากต้องการจะเพิ่มแรงม้า วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเพิ่มขนาดความจุของเครื่องยนต์ ยิ่งเครื่องมีความจุมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีแรงม้ามากเท่านั้น และนี่ก็เป็นที่มาของประโยคที่ว่า... “ ความจุ ” คือ “ พระเจ้า ”
แต่แล้ว... “ พระเจ้า ” ก็ถูกลูบคม เมื่อมีคนคิดค้น “ ระบบอัดอากาศ ” ซึ่งเป็นทางลัดที่จะเพิ่มแรงม้าจำนวนมหาศาลโดยที่ไม่ต้องเพิ่มความจุของเครื่องยนต์แม้แต่ซีซีเดียว…
“ ระบบอัดอากาศ ” ถูกนำมาใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ด้วยความที่ว่ามันสามารถสร้างแรงม้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ทำให้เหล่าสาวกที่คลั่งไคล้แรงม้า พากันเปลี่ยนลัทธิไปนับถือ “ บูสต์ ” อย่างหน้ามืดตามัว
 ทำไมเครื่องยนต์ที่มี “ ระบบอัดอากาศ ” ถึงสร้างแรงม้าได้มากกว่า?
ที่มาภาพ http://johsautolife.com/index.php/2015-12-30-03-42-00/2015-12-30-03-43-37/29-war-of-boost

ปกติแล้วเครื่องยนต์จะสามารถสร้างแรงม้าได้มากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของอากาศที่ถูกดูดเข้าไปในห้องเผาไหม้ ยิ่งอากาศเข้าไปได้มาก ก็จะยิ่งสร้างแรงม้าได้มาก เพราะเหตุนี้ จึงมีการคิดค้นระบบอัดอากาศเพื่อ “ บังคับ ” ให้อากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้ได้มากที่สุด
เมื่อในเครื่องยนต์มีอากาศมากแล้ว แน่นอนว่าเราก็ต้องเพิ่มปริมาณน้ำมันเพื่อให้สัมพันธ์กับอากาศที่เพิ่มขึ้น และเมื่อในเครื่องยนต์มีอากาศมาก มีน้ำมันมาก แน่นอนว่าการจุดระเบิดก็จะรุนแรงและให้กำลังออกมามากกว่าปกติ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการทำงานทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์( Turbocharger )

อาการ “รอรอบ” คืออะไร?

VN TURBO