บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

การดูแลรักษาเทอร์โบชาร์จเจอร์

รูปภาพ
การดูแลรักษาเทอร์โบ                 ถ้าหากว่าเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเทอร์โบเสียหายหรือระบบน้ำมันเชื้อเพลิงบกพร่อง เราก็สามารถตรวจเช็คด้วยการถอดท่อดูดเข้าเทอร์โบออกแล้วลองหมุนและยกเพลาเทอร์โบจากหัวน๊อตล็อกใบพัดไอดีรวมถึง ตรวจดูว่าใบพัดไอดียังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากเทอร์โบหมุนไม่สะดวก แสดงว่าเทอร์โบเสียหายต้อถอดมาตรวจซ่อม ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีค่ากำหนดเอาไว้ว่าหากเทอร์โบยังอยู่ในสภาพปกติสามารถโยกแกนขึ้น-ลงได้อยู่ในช่วง 0.003 – 0.006 นิ้ว  และสามารถโยกเลื่อนไปมาหน้า-หลังได้อยู่ในช่วง 0.001 – 0.003 นิ้ว ถ้าหากลองโยกแกนเทอร์โบดูแล้วมีค่าเกินมากกว่านี้ เราก็ควรจะต้องส่งซ่อมเพราะหากปล่อยไว้อาจจะเสียหายมากขึ้น ทำให้ต้องซ่อมหนักมากกว่าเดิม แต่ถ้าแกนเทอร์โบยังอยู่ในอาการดี ก็ต้องลองไปตรวจสอบว่าท่อดูดหรือท่ออัดเข้าและออกจากเทอร์โบรั่วหรือคลายหรือไม่ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้แรงบูสท์หดหายไป แต่ถ้าสังเกตเห็นว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกจากเทอร์โบ ก็ควรตรวจเช็คท่อน้ำมันไหลกลับว่ามีการอุดตันทำให้น้ำมันไหลกลับไม่สะดวก และตรวจเช็คกรองอากาศกันด้วยว่าอุดตันหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูระดับน้ำมันในอ่างน

ข้อมูลอื่นๆของเทอร์โบชาร์จเจอร์

รูปภาพ
กำลังที่สร้างได้                 เนื่องจากความเร็วรอบของแกนเทอร์โบจะขึ้นกับปริมาณของไอเสีย ยิ่งมีไอเสียมาก ก็จะยิ่งหมุนเร็ว บางครั้งอาจหมุนเร็วถึง 150,000 รอบต่อนาที บูสต์ที่สร้างได้นั้นจะมีตั้งแต่ 10 PSI ไปจนถึง 40 PSI แล้วแต่ขนาดของเทอร์โบ                  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทอร์โบจะสามารถสร้างแรงม้าได้มากกว่า แต่มันก็มี “ จุดอ่อน ” ที่ยังไม่มีใครแก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ นั่นก็คือ “ อาการรอรอบ ” หรือที่เรียกว่า “ เทอร์โบ-แล็ก ” ( Turbo - lag ) นั่นเอง “ เทอร์โบ-แล็ก ” กลายเป็น “ คำสาป ” ที่มีอยู่ในเทอร์โบทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โบคู่หรือว่าเทอร์โบเดี่ยว ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โบเล็กหรือเทอร์โบใหญ่ ...แต่ถ้าหากว่าเรายอมรับคำสาปข้อนี้ได้ แน่นอนว่า...เราก็จะได้ฝูงม้าจำนวนมหาศาลเป็นรางวัลตอบแทนเลยทีเดียว ความยาก-ง่ายในการติดตั้ง         สำหรับเทอร์โบแล้ว เนื่องจากว่าเราต้องเปลี่ยนเฮดเดอร์ใหม่ เพราะฉะนั้นจะมีความยุ่งยากในการติดตั้งเฮดเดอร์และเดินท่อไอเสีย ถ้าจะให้เซฟตี้หน่อยก็ต้องเดินหลบท่อน้ำมัน อีกทั้งยังต้องติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์และเดินท่อไอดีอีกต่างหาก เผลอๆอาจจะต้องแป

รถที่มีการใช้เทอร์โบ

รูปภาพ
Honda Civic Turbo RS                  ที่มา  http://www.headlightmag.com/hlmwp/wp-content/uploads/2016/08/2016_07_12_Honda_Civic_07.jpg             ด้วย เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร Turbo พัฒนาภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีมให้กำลังสูงสุด 173 แรงม้า ที่ 5,500 รอบ ต่อนาทีด้วยแรงบิดสูงสุดที่ 220 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800 - 5,500 รอบต่อนาที ซึ่งเทียบเท่ากับเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร แต่กลับมีอัตราการประหยัดน้ำมันดีกว่า โดย เทอร์โบตัวเล็กสร้างแรงบูสได้สูงสุดที่  16.5 psi   ทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงดีขึ้น ตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ Honda เคลมมาให้อยู่ที่ 13-14 กิโลเมตรต่อลิตร (นอกเมือง) ใกล้เคียงกับอัตราสิ้นเปลืองของเครื่อง 2 ลิตร ใน Civic รุ่นที่ผ่านมา สำหรับมาตรฐานมลพิษของเครื่อง 1.5 ลิตร เทอร์โบอยู่ในระดับ EURO-6 มีทั้งความสะอาดและประหยัดควบคู ่กันไป  Nissan Pulsar 1.6 DIG Turbo            ที่มา https://i.ytimg.com/vi/G-sHq7LKpxI/hqdefault.jpg                เป็นเครื่องยนต์ MR 16 DDT ความจุ 1.6 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 190 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 2